วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วิชาปรัชญาการเมือง


1.   ปรัชญา หมายถึง ตัวปัญญา (Wisdom) คือความรู้แท้ที่ได้รับหลังจากหมดความสงสัยแล้ว สาเหตุของการเกิดปรัชญาจากการที่มนุษย์ต้องเผชิญหน้าต่อสภาพแวดล้อม เหตุการณ์และปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทำให้ต้องดิ้นรนเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้น โดยการค้นคิดหาวิธีการต่าง ๆ มากมายตามแนวความเชื่อ ประสบการณ์ และความรู้ของตนเอง จึงทำให้เกิดปรัชญาขึ้น (สืบค้นสืบค้นวันที่ 21 กันยายน 2557 จาก http://wirotephilosophy.blogspot.com)
2.ปรัชญาการเมือง  political philosophy หมายถึง
สาขาวิชาหนึ่งขององค์ความรู้ในวิชารัฐศาสตร์ ปรัชญาการเมืองเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดเนื่องจากเป็นวิชาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ราวศตววษที่ 5 ก่อนคริสตกาลในดินแดนคาบสมุทธเพลอพอนเนซุส หรือดินแดนของนครรัฐที่ชื่อว่าเอเธนส์=ประเทศกรีซในปัจจุบัน   เป็นการศึกษาถึงชีวิตทางสังคมหรือชีวิตทางการเมืองของมนุษย์ = ศึกษาเรื่องของสังคม ( SoSciety) และรัฐ 1 ( The State )  ในแง่ของธรรมชาติ ( Essence ) บ่อเกิด                   ( Origin ) และคุณค่า ( Value ) ของรัฐและสังคม  ความยุติธรรม  ( Justice ) และวิถีที่จะนำไปสู่ความยุติธรรมของสังคม   รวมถึงการออกกฎและการเคารพกฎภายในรัฐ

 

หมายเหตุอธิบายเรื่อง รัฐ1  หมายถึง ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์ อันประกอบด้วยดินแดนที่มีขอบเขตแน่นอน มีประชากรอาศัยอยู่ในจำนวนที่เหมาะสม โดยมีรัฐบาลปกครองและมีอำนาจอธิปไตยของตัวเององค์ประกอบของรัฐ ประกอบด้วย
1.ประชากร (Population) หมายถึง บุคคลที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐอย่างถาวร
2.ดินแดน (Territory) หมายถึง อาณาเขตพื้นดิน น่านน้ำ อาณาเขตในท้องทะเล น่านฟ้า บริเวณใต้พื้นดิน พื้นน้ำและพื้นทะเล   
3.รัฐบาล (Government) คือ องค์กร หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครองและบริหารภายในโดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อจัดระเบียบทางสังคม และดำเนินทุกอย่างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ รัฐบาลจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองรัฐ
4.อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) เป็นองค์ประกอบประการสุดท้ายที่สำคัญของรัฐ อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ อำนาจอธิปไตย= อำนาจประชาชน
 


นักปรัชญายุคคลาสสิค
1. โสเครตีส
ประวัติ
โซเครตีส (469-399 B.C. ) ถือว่าเป็นบิดาของปรัชญาการเมือง เพราะเป็นคนแรกที่ตั้งคำถามว่า อะไรคือความดี อะไรคือความกล้าหาญ อะไรคือความยุติธรรม อันเป็นการโยงแนวคิดจากเรื่องธรรมชาติมาสู่มนุษย์ การแสวงหาธรรมชาติของความยุติธรรม และการตั้งคำถาม อื่นๆ ที่เกี่ยวโยงกับมนุษย์และชุมชนการเมือง นี่แหละ คือจุดเริ่มต้นของปรัชญาการเมือง
แนวคิดทางการเมืองเริ่มต้นด้วยโซเครติสผู้เริ่มตั้งคำถามอย่างจริงจังว่า อะไรคือความดี ความกล้าหาญ ความยุติธรรม การแสวงหาคำตอบของโซเครติสเกี่ยวกับธรรมชาติของความยุติธรรมหรือความดีและการตั้งคำถามอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงระหว่างมนุษย์ผู้เป็นปัจเจกชนกับรัฐ จึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของปรัชญาการเมืองโดยแท้ โสเครติสเป็นปรัชญาเมธีที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลก เป็นปรัชญาเมธีที่มุ่งเน้นในการแสวงหาและคุณค่าแห่งปัญญาเมื่อสมัยเด็ก โสเครตีสได้รับการศึกษาน้อยมาก แต่เป็นผู้ที่แสวงหาความรู้ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับศีลธรรมและดวงวิญญาณ ทำให้ท่านมีความรู้แตกฉานประกอบกับเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นแสวงหาปัญญาอย่างต่อเนื่อง ท่านจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษด้านศีลธรรมคนหนึ่งของโลก
ในกระบวนการแสวงหาความรู้ของโสเครตีส ที่ใช้ได้ผลมากที่สุดคือ กระบวนการวิภาษวิธี (Dialectic) หลักการที่สำคัญของกระบวนการนี้คือ การนำข้อเสนอที่มีเหตุผล (Thesis) และข้อคัดค้าน (Antithesis) มาหักล้างกัน กระบวนการนี้ทำให้ข้อเสนอที่ไม่มีเหตุผลตกไปคงเหลืออยู่เฉพาะข้อเสนอที่มีเหตุผล ข้อคัดค้านที่มีเหตุผลมากกว่าจะสามารถหักล้างข้อเสนอที่มีเหตุผลน้อยกว่า ในทำนองเดียวกันข้อคัดค้านที่มีเหตุผลด้อยกว่าจะไม่สามารถหักล้างข้อเสนอที่มีเหตุผลมากกว่า ถ้าหากข้อเสนอใดถูกหักล้างไปโดยข้อคัดค้านที่มีเหตุผลมากกว่า ก็จะนำเสนอข้อใหม่เพื่อคิดค้นกันต่อไป ผลลัพธ์ระหว่างข้อเสนอและข้อคัดค้านที่มีเหตุผลคือ เป้าหมายของการแสวงหาคือ ความจริงที่ถูกต้อง (Synthesis)  กระบวนการวิภาษวิธีจึงเป็นกระบวนการสำคัญของโซเครตีสในการแสดงหาและอธิบายองค์ความรู้ที่แท้จริงแห่งชีวิตการเมือง ด้วยวิธีการแสดงหาความรู้แบบวิภาษวิธีทำให้โสเครตีสถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการให้ดื่มยาพิษเสียชีวิต             โสเครตีสยอมถูกลงโทษ แต่โดยดีเพื่ออุดมการณ์ของตน

อธิบายเพิ่มเติมกระบวนการวิภาษวิธี
1.ฝ่ายหนึ่งนำเสนอความคิด (Thesis)
2.อีกฝ่ายชี้ข้อบกพร่องของความคิดนั้นให้เห็น (Antithesis)
3.ทั้งสองฝ่ายร่วมกันแก้ไขความคิดนั้นให้รอดพ้นจากข้อบกพร่องดังกล่าว                           (Synthesis)
4.และได้ความคิดใหม่ที่ดีขึ้นในท้ายที่สุด ก่อนที่จะวกไปถูกตรวจสอบอีกครั้งเรื่อยๆ 



1. คำถามทางปรัชญาของท่านที่ว่าอะไรคือความดีและความยุติธรรมเป็นการชี้ให้เห็นถึงลักษณะสากล จึงเป็นการชี้ให้เห็นว่าความดีและความยุติธรรมมีธรรมชาติเป็นของตนเองเป็นอิสระจากความเห็นทั้งปวง
2. แนวคิดของท่านกลายมาเป็นปรัชญาการเมืองเพราะมุ่งจะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าและมุ่งจะรักษาสิ่งที่ดีเอาไว้ไม่ให้เลวลง ดังนั้นการกระทำทางการเมืองย่อมต้องมีความรู้                        ในสิ่งที่ดี และสิ่งที่เลวเป็นเครื่องนำทางเสมอ  (สืบค้นวันที่ 21 กันยายน 2557 จาก http://www.slideshare.net/kanjana28122536/387442-1)
3.โสเครตีส เชื่อในหลักธรรมและความดี โสเครตีส นั้นเชื่อว่าผู้ปกครองนั้นต้องมาจากผู้ที่มีความรู้หรือเป็นปราชญ์ เพราะผู้ที่มีความรู้หรือปราชญ์ย่อมทำแต่ความดีและรักษาความดี เพราะความดีทำให้สังคมตลอดจนประชากรของสังคมมีความสุข

****แนวคิดหลักทางการเมือง****
คุณธรรมของนักการเมืองที่ดีตามแนวคิดของ โสเครตีส ได้แก่
(1) ปัญญา (Wisdoms) หมายถึงความรู้เกี่ยวกับความดี คือรู้ว่าอะไรดีไม่ดี ความดี สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล และเหตุผลของความดีจะทำให้มนุษย์มีความสุข มนุษย์ส่วนมากทำความชั่วเพราะความโง่เขลา ไม่รู้ว่าความดีคืออะไร ถ้ามนุษย์รู้ว่าความดีคืออะไร จะไม่ทำความชั่ว เพราะความชั่วทำให้เป็นทุกข์ มนุษย์ที่เกิดมาในโลกนี้ต้องการความสุข ถ้ามนุษย์รู้ว่าความดีคืออะไร เขาก็จะทำแต่ความดี เพราะความดีทำให้เกิดความสุข ผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้ประพฤติดีและเว้นความชั่วเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม ให้ประชาชนมั่นใจว่าการประพฤติดีละเว้นความชั่วทำให้ชีวิตมีความสุข การประพฤติชั่วถูกปฏิเสธจากสังคมและทำให้ชีวิตเป็นทุกข์
(2) ความกล้าหาญ (Courage) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เราควรกลัวและไม่ควรกลัว มีความกล้าหาญที่จะทำความดี แม้ในทุกสถานการณ์ ทุกสถานที่ การกระทำความดีนั้นจะเสี่ยงด้วยชีวิตก็ตามไม่ได้กล้าแบบบ้าปิ่น แต่มีเหตุผลที่จะรักษาความดีให้ดำรงอยู่ต่อไป เช่น ผู้ปกครองกล้าที่จะทำในสิ่งที่ดี กล้าปราบปรามในสิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย ไม่ทำอะไรที่มีสองมาตรฐาน การที่ปล่อยความชั่วให้คงอยู่เพื่อเอาตัวรอด ทำให้ความดีสูญหายไปเป็นการกระทำที่ไม่ใช่วิสัยของผู้ปกครอง
(3) ควบคุมตนเอง (Temperance) หมายถึง การมีชีวิตตามทำนองคลองธรรมคุณงามแห่งความดี การไม่ปล่อยให้ชีวิตต้องตกเป็นทาสของอารมณ์และความปรารถนาต่างๆ ที่ไม่ใช่ความดี การได้ควบคุมตนเองทำให้ได้ใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาได้อย่างเต็มที่ การใช้ปัญญาในการแสวงหาเหตุผลเพื่อรักษาตนให้ดำรงความดีอยู่ตลอดเวลา ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน ต้องเป็นคนสาธารณะ ฉะนั้นการได้รู้จักควบคุมตนเองมีโอกาสทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด ผู้ปกครองต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีตลอดเวลา
(4) ความยุติธรรม (Justice) หมายถึง การแสดงออกในรูปของการกระทำที่เคารพสิทธิของคนอื่น และการไม่ยอมทำความชั่วต่อผู้อื่น ผู้ปกครองต้องแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้รักความยุติธรรม และทำให้สังคมมีความยุติธรรมและสามารถให้ความยุติธรรมกับสังคม กล้าที่จะดำรงความยุติธรรมไว้ให้ได้ ถ้าผู้ปกครองในสังคมใดไม่มีความยุติธรรมหรือไม่กล้าที่จะทำให้ความยุติธรรมเป็นที่เชื่อถือของสังคม หรือมีสองมาตรฐานสังคมนั้นย่อมไม่มีความสุข วุ่นวาย (สืบค้นวันที่ 21 กันยายน 2557 จาก http://husnana11.blogspot.com/ )


2.เพลโต้


ประวัติ
เพลโต (ประมาณปี 427-347 ก่อนสากลศักราช) เป็นนักปรัชญากรีก. เขาเกิดที่กรุงเอเธนส์ในครอบครัวขุนนางและได้รับการศึกษาอย่างดีเช่นเดียวกับลูกหลานชนชั้นสูงชาวกรีกในสมัยนั้น เพลโตได้รับอิทธิพลอย่างมากจากแนวคิดของโสกราตีส นักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงและเหล่าศิษย์ของพีทากอรัสผู้เป็นนักคณิตศาสตร์และนักปรัชญากรีก.
หลังจากเดินทางไปทั่วดินแดนต่างๆในแถบเมดิเตอร์เรเนียนและเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองในนครซีราคิวส์ของกรีกบนเกาะซิซิลี เพลโตได้กลับไปยังเอเธนส์และตั้งสำนักศึกษาชื่ออะคาเดมี. สำนักศึกษาแห่งนี้มักได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของยุโรปและเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าด้านคณิตศาสตร์และปรัชญา.

               

                                                        
ผลงานที่สำคัญ คือ อุตมรัฐ  (The Republic)
***แนวคิดหลักทางการเมือง***
                แนวความคิดของเพลโตจะมีความเชื่อมั่นในเรื่องคุณธรรม และจริยธรรมเหมือนโสกราตีส ช่วงวัยกลางคน เพลโตเขียนมหาคัมภีร์ทางรัฐศาสตร์ชื่อ “The Republic” หรือ อุตมรัฐ“ (อุ-ตะ-มะ-รัด) หรือรัฐในอุดมคติ คือลักษณะของรัฐที่ดีที่จะทำให้คนมีความสุข ซึ่งเพลโตต้องการให้มีขึ้น  
หลักของอุตมรัฐ  (The Republic)
          1.  อำนาจและความยุติธรรม : ผู้ปกครองควรใช้อำนาจโดยธรรม  ซึ่งต่างกับอำนาจที่เกิดจากการบังคับขู่เข็ญ โดย ทั่วไปผู้ปกครองมักสรุปว่าตนเองมีอำนาจ และการใช้อำนาจของตนเองนั้นชอบธรรม แต่เพลโตมีทรรศนะว่าอำนาจนั้นจะชอบธรรมต่อเมื่อมีประชาชนผู้อยู่ใต้อำนาจนั้น ยินดีปฏิบัติตามด้วยความสมัครใจ
          2.  การปกครองเป็นศิลปะ : เนื่องจากคนในสังคมมีอยู่หลากหลาย การที่จะทำให้เห็นพ้องต้องกันทั้งหมด อาจเป็นการยาก แต่ถ้าผู้ปกครองไปเข้าข้างหนึ่งข้างใด  ข้างที่เหลือก็จะเป็นปฏิปักษ์ ดังนั้นผู้ปกครองต้องหาวิธีทำให้คนส่วนใหญ่เห็นพ้องด้วย เพลโตจึงเห็นว่าการปกครองเป็นศิลปะที่สำคัญที่จะทำให้คนส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกัน ซึ่งจะทำให้การปกครองนั้นเป็นไปโดยราบรื่น
             3.  ธาตุแท้ของบุคคลในสังคม :หรือชนชั้นของคนในสังคม เพลโตเห็นว่ามนุษย์มีความแตกต่างกันตามธรรมชาติมาตั้งแต่กำเนิด แบ่งเป็นดังนี้
                             3.1 กลุ่มธาตุทองคำ มีลักษณะใฝ่รู้ สนใจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ใช้เหตุผล มีความสามารถในการวิเคราะห์   เข้าใจคุณธรรมและจริยธรรม เหมาะที่จะเป็น ผู้ปกครอง
                             3.2 กลุ่มธาตุเงิน มีความรู้ความสามารถและมีชั้นเชิงในการรบ เหมาะที่จะเป็น นักรบป้องกันประเทศ
3.3 กลุ่มธาตุทองแดง มุ่งแสวงหาประโยชน์และกำไร เหมาะที่จะเป็น ผู้ทำการผลิตให้แก่สังคม เพื่อรัฐจะได้เก็บภาษีเพื่อนำมาพัฒนารัฐได้


















 







4.  การศึกษาเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับสังคม     เพลโตเห็นว่าการศึกษาเป็นกลไกสำคัญของรัฐ ถือเป็นกระบวนการของการอบรมหล่อหลอมกล่อมเกลา2 ให้คนในสังคมมีค่านิยมที่พึงประสงค์ หากต้องการให้คนมีคุณธรรม จริยธรรม กระบวนการในการศึกษาก็ควรจะมุ่งเน้นให้คนเห็นคุณค่าของสองสิ่งนี้
****ราชาปราชญ์ ควรเป็นผู้ทรงคุณธรรม*****
          1.  เป็นผู้เสียสละ อุทิศตนและใช้อำนาจในการปกครองเพื่อประโยชน์ของสังคมและประชาชน
          2.  ไม่ควรมีทรัพย์สินและครอบครัว เพราะจะทำให้เกิดความโลภและเมื่อไม่มีครอบครัวจะทำให้มีอิสระในการอุทิศ ทุ่มเทในการทำงานให้กับประชาชน เพราะครอบครัวเป็นพันธะผูกคอ แต่เพื่อแก้ไขปัญหาการสูญพันธ์ของกลุ่มธาตุทองคำ (ปราชญ์) เพลโตจึงให้คัดหญิงงาม คุณสมบัติดี มาเป็นคู่ขยายพันธ์ของผู้ปกครอง เมื่อตั้งครรภ์ให้แยกออกไป โดยมีหน่วยงานของรัฐดูแล และเมื่อคลอดแล้วก็ให้แยกออกไปอีก ให้หน่วยของรัฐอุปถัมภ์เลี้ยงดูเพื่อเป็นผู้ปกครองต่อไป แต่อย่าให้รู้ว่าใครเป็นพ่อเป็นแม่ และอย่าให้พ่อแม่รู้ว่าใครเป็นลูก ซึ่งแปลว่าเพลโตไม่เคารพสถาบันครอบครัวเลย เพราะเห็นว่าจะนำมาซึ่งความวิตกห่วงใย และไม่พร้อมที่จะเสียสละ อุทิศตนเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
          3.  เพลโตเห็นว่าผู้ปกครองที่เป็นปราชญ์ สามารถตัดสินปัญหาต่างๆ โดยใช้ดุลพินิจได้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมาย เพราะต้องมาทำการตีความวุ่นวาย ซึ่งแม้ว่าเป็นแนวคิด ๒,๐๐๐ กว่าปีแล้ว ก็มีผู้นำมาใช้เช่นกัน เช่น พ่อขุนรามฯ ให้คนมาสั่นกระดิ่งหน้าพระตำหนักเมื่อมีปัญหา และออกมาตัดสิน   



***นิติรัฐ (Laws) รัฐแห่งกฎหมาย***
          1.  เพลโตใช้เวลานำเสนอแนวความคิดแบบราชาปราชญ์อยู่นาน และพบว่าไม่มีใครอยากเป็นผู้ปกครองแบบ  ปราชญ์ มีแต่คนต้องการสมบัติ อำนาจ จนกระทั่งถึงวัยปลายคน เพลโตจึงยอมจำนนกับความจริงของโลกกับสังคมในขณะนั้น จึงได้นำเสนอแนวคิดใหม่ เขียนหนังสือชื่อ LAWS (นิติรัฐหรือรัฐแห่งกฎหมาย) โดย ยอมรับให้มีรัฐธรรมนูญ2เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
          2.  เพลโตกำหนดไว้ด้วยว่ารัฐที่ดีควรตั้งอยู่ชายฝั่งทะเล จะได้สามารถติดต่อค้าขายกับแคว้นอื่นๆ ได้ และให้แบ่งคนในรัฐออกเป็น ๑๒ แคว้น (ตามหลัก ๑ ปีมี ๑๒ เดือน) โดยให้ประชาชนในแต่ละรัฐเลือกตัวแทนขึ้นมาทำหน้าที่ ๓ ส่วน คือ
                             นิติบัญญัติ - สภาล่าง ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย
                             บริหาร สภามนตรี
ตุลาการ พิพากษาคดี
          3.  การบังคับใช้กฎหมาย ในคดีแพ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องชดใช้กัน แต่ในคดีอาญา เพลโตเห็นว่าไม่ว่าจะทำผิดอะไร ถ้าถูกลงโทษแล้วก็ยังเป็นสมาชิกของสังคมนั้น เพราะฉะนั้นการลงโทษควรยึดแนวทางในการปรับเปลี่ยนจิตใจเพื่อให้สำนึก และปรับตัวใหม่ เมื่อพ้นโทษแล้วจะได้กลับมาเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เพลโตไม่เห็นด้วยกับการลงโทษให้หลาบจำ ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะใช้แนวความคิดของเพลโตเยอะ ผิดกับประเทศด้อยพัฒนาที่ยังใช้วิธีลงโทษให้หลาบจำ ( สืบค้นวันที่ 21 กันยายน 2557                                             จาก http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=548&articlegroup_id=129)

 


1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ26 มกราคม 2565 เวลา 22:52

    Bet365 Online Casino - KDAT
    Bet365 메리트 카지노 주소 Casino 샌즈카지노 offers a great live casino and sports betting. Experience the thrill of online betting kadangpintar on an unforgettable experience from home in

    ตอบลบ