1. ปรัชญา หมายถึง ตัวปัญญา (Wisdom) คือความรู้แท้ที่ได้รับหลังจากหมดความสงสัยแล้ว
สาเหตุของการเกิดปรัชญาจากการที่มนุษย์ต้องเผชิญหน้าต่อสภาพแวดล้อม
เหตุการณ์และปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ทำให้ต้องดิ้นรนเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้น โดยการค้นคิดหาวิธีการต่าง ๆ
มากมายตามแนวความเชื่อ ประสบการณ์ และความรู้ของตนเอง จึงทำให้เกิดปรัชญาขึ้น (สืบค้นสืบค้นวันที่
21 กันยายน 2557 จาก http://wirotephilosophy.blogspot.com)
2.ปรัชญาการเมือง political
philosophy หมายถึง
สาขาวิชาหนึ่งขององค์ความรู้ในวิชารัฐศาสตร์ ปรัชญาการเมืองเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดเนื่องจากเป็นวิชาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ราวศตววษที่
5 ก่อนคริสตกาลในดินแดนคาบสมุทธเพลอพอนเนซุส หรือดินแดนของนครรัฐที่ชื่อว่าเอเธนส์=ประเทศกรีซในปัจจุบัน เป็นการศึกษาถึงชีวิตทางสังคมหรือชีวิตทางการเมืองของมนุษย์
= ศึกษาเรื่องของสังคม ( SoSciety) และรัฐ 1 ( The State ) ในแง่ของธรรมชาติ ( Essence
) บ่อเกิด ( Origin ) และคุณค่า ( Value ) ของรัฐและสังคม ความยุติธรรม
( Justice ) และวิถีที่จะนำไปสู่ความยุติธรรมของสังคม
รวมถึงการออกกฎและการเคารพกฎภายในรัฐ
หมายเหตุอธิบายเรื่อง รัฐ1 หมายถึง ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์
อันประกอบด้วยดินแดนที่มีขอบเขตแน่นอน มีประชากรอาศัยอยู่ในจำนวนที่เหมาะสม
โดยมีรัฐบาลปกครองและมีอำนาจอธิปไตยของตัวเององค์ประกอบของรัฐ ประกอบด้วย
1.ประชากร (Population) หมายถึง บุคคลที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐอย่างถาวร
2.ดินแดน (Territory) หมายถึง
อาณาเขตพื้นดิน น่านน้ำ อาณาเขตในท้องทะเล น่านฟ้า บริเวณใต้พื้นดิน
พื้นน้ำและพื้นทะเล
3.รัฐบาล (Government) คือ องค์กร
หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครองและบริหารภายในโดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติ
เพื่อจัดระเบียบทางสังคม และดำเนินทุกอย่างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ รัฐบาลจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองรัฐ
4.อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) เป็นองค์ประกอบประการสุดท้ายที่สำคัญของรัฐ
อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ อำนาจอธิปไตย= อำนาจประชาชน
1. โสเครตีส
ประวัติ
โซเครตีส (469-399 B.C. ) ถือว่าเป็นบิดาของปรัชญาการเมือง
เพราะเป็นคนแรกที่ตั้งคำถามว่า อะไรคือความดี อะไรคือความกล้าหาญ
อะไรคือความยุติธรรม อันเป็นการโยงแนวคิดจากเรื่องธรรมชาติมาสู่มนุษย์
การแสวงหาธรรมชาติของความยุติธรรม และการตั้งคำถาม อื่นๆ
ที่เกี่ยวโยงกับมนุษย์และชุมชนการเมือง นี่แหละ คือจุดเริ่มต้นของปรัชญาการเมือง
ในกระบวนการแสวงหาความรู้ของโสเครตีส ที่ใช้ได้ผลมากที่สุดคือ กระบวนการวิภาษวิธี
(Dialectic) หลักการที่สำคัญของกระบวนการนี้คือ การนำข้อเสนอที่มีเหตุผล (Thesis)
และข้อคัดค้าน (Antithesis) มาหักล้างกัน
กระบวนการนี้ทำให้ข้อเสนอที่ไม่มีเหตุผลตกไปคงเหลืออยู่เฉพาะข้อเสนอที่มีเหตุผล
ข้อคัดค้านที่มีเหตุผลมากกว่าจะสามารถหักล้างข้อเสนอที่มีเหตุผลน้อยกว่า
ในทำนองเดียวกันข้อคัดค้านที่มีเหตุผลด้อยกว่าจะไม่สามารถหักล้างข้อเสนอที่มีเหตุผลมากกว่า
ถ้าหากข้อเสนอใดถูกหักล้างไปโดยข้อคัดค้านที่มีเหตุผลมากกว่า
ก็จะนำเสนอข้อใหม่เพื่อคิดค้นกันต่อไป
ผลลัพธ์ระหว่างข้อเสนอและข้อคัดค้านที่มีเหตุผลคือ เป้าหมายของการแสวงหาคือ
ความจริงที่ถูกต้อง (Synthesis) กระบวนการวิภาษวิธีจึงเป็นกระบวนการสำคัญของโซเครตีสในการแสดงหาและอธิบายองค์ความรู้ที่แท้จริงแห่งชีวิตการเมือง
ด้วยวิธีการแสดงหาความรู้แบบวิภาษวิธีทำให้โสเครตีสถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการให้ดื่มยาพิษเสียชีวิต โสเครตีสยอมถูกลงโทษ แต่โดยดีเพื่ออุดมการณ์ของตน
อธิบายเพิ่มเติมกระบวนการวิภาษวิธี
1.ฝ่ายหนึ่งนำเสนอความคิด (Thesis)
2.อีกฝ่ายชี้ข้อบกพร่องของความคิดนั้นให้เห็น (Antithesis)
3.ทั้งสองฝ่ายร่วมกันแก้ไขความคิดนั้นให้รอดพ้นจากข้อบกพร่องดังกล่าว (Synthesis)
4.และได้ความคิดใหม่ที่ดีขึ้นในท้ายที่สุด
ก่อนที่จะวกไปถูกตรวจสอบอีกครั้งเรื่อยๆ
1.
คำถามทางปรัชญาของท่านที่ว่าอะไรคือความดีและความยุติธรรมเป็นการชี้ให้เห็นถึงลักษณะสากล
จึงเป็นการชี้ให้เห็นว่าความดีและความยุติธรรมมีธรรมชาติเป็นของตนเองเป็นอิสระจากความเห็นทั้งปวง
2.
แนวคิดของท่านกลายมาเป็นปรัชญาการเมืองเพราะมุ่งจะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าและมุ่งจะรักษาสิ่งที่ดีเอาไว้ไม่ให้เลวลง
ดังนั้นการกระทำทางการเมืองย่อมต้องมีความรู้ ในสิ่งที่ดี และสิ่งที่เลวเป็นเครื่องนำทางเสมอ (สืบค้นวันที่ 21 กันยายน 2557 จาก http://www.slideshare.net/kanjana28122536/387442-1)
3.โสเครตีส
เชื่อในหลักธรรมและความดี โสเครตีส นั้นเชื่อว่าผู้ปกครองนั้นต้องมาจากผู้ที่มีความรู้หรือเป็นปราชญ์
เพราะผู้ที่มีความรู้หรือปราชญ์ย่อมทำแต่ความดีและรักษาความดี
เพราะความดีทำให้สังคมตลอดจนประชากรของสังคมมีความสุข
****แนวคิดหลักทางการเมือง****
คุณธรรมของนักการเมืองที่ดีตามแนวคิดของ โสเครตีส ได้แก่
(1) ปัญญา (Wisdoms) หมายถึงความรู้เกี่ยวกับความดี
คือรู้ว่าอะไรดีไม่ดี ความดี สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล
และเหตุผลของความดีจะทำให้มนุษย์มีความสุข มนุษย์ส่วนมากทำความชั่วเพราะความโง่เขลา
ไม่รู้ว่าความดีคืออะไร ถ้ามนุษย์รู้ว่าความดีคืออะไร จะไม่ทำความชั่ว
เพราะความชั่วทำให้เป็นทุกข์ มนุษย์ที่เกิดมาในโลกนี้ต้องการความสุข
ถ้ามนุษย์รู้ว่าความดีคืออะไร เขาก็จะทำแต่ความดี เพราะความดีทำให้เกิดความสุข
ผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้ประพฤติดีและเว้นความชั่วเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม ให้ประชาชนมั่นใจว่าการประพฤติดีละเว้นความชั่วทำให้ชีวิตมีความสุข
การประพฤติชั่วถูกปฏิเสธจากสังคมและทำให้ชีวิตเป็นทุกข์
(2) ความกล้าหาญ (Courage) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เราควรกลัวและไม่ควรกลัว
มีความกล้าหาญที่จะทำความดี แม้ในทุกสถานการณ์ ทุกสถานที่
การกระทำความดีนั้นจะเสี่ยงด้วยชีวิตก็ตามไม่ได้กล้าแบบบ้าปิ่น
แต่มีเหตุผลที่จะรักษาความดีให้ดำรงอยู่ต่อไป เช่น ผู้ปกครองกล้าที่จะทำในสิ่งที่ดี
กล้าปราบปรามในสิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย ไม่ทำอะไรที่มีสองมาตรฐาน การที่ปล่อยความชั่วให้คงอยู่เพื่อเอาตัวรอด
ทำให้ความดีสูญหายไปเป็นการกระทำที่ไม่ใช่วิสัยของผู้ปกครอง
(3) ควบคุมตนเอง (Temperance) หมายถึง
การมีชีวิตตามทำนองคลองธรรมคุณงามแห่งความดี การไม่ปล่อยให้ชีวิตต้องตกเป็นทาสของอารมณ์และความปรารถนาต่างๆ
ที่ไม่ใช่ความดี การได้ควบคุมตนเองทำให้ได้ใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาได้อย่างเต็มที่
การใช้ปัญญาในการแสวงหาเหตุผลเพื่อรักษาตนให้ดำรงความดีอยู่ตลอดเวลา
ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน ต้องเป็นคนสาธารณะ
ฉะนั้นการได้รู้จักควบคุมตนเองมีโอกาสทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด
ผู้ปกครองต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีตลอดเวลา
(4) ความยุติธรรม (Justice) หมายถึง
การแสดงออกในรูปของการกระทำที่เคารพสิทธิของคนอื่น
และการไม่ยอมทำความชั่วต่อผู้อื่น ผู้ปกครองต้องแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้รักความยุติธรรม
และทำให้สังคมมีความยุติธรรมและสามารถให้ความยุติธรรมกับสังคม
กล้าที่จะดำรงความยุติธรรมไว้ให้ได้
ถ้าผู้ปกครองในสังคมใดไม่มีความยุติธรรมหรือไม่กล้าที่จะทำให้ความยุติธรรมเป็นที่เชื่อถือของสังคม
หรือมีสองมาตรฐานสังคมนั้นย่อมไม่มีความสุข วุ่นวาย (สืบค้นวันที่ 21 กันยายน 2557 จาก http://husnana11.blogspot.com/ )
2.เพลโต้
ประวัติ
เพลโต (ประมาณปี 427-347 ก่อนสากลศักราช) เป็นนักปรัชญากรีก.
เขาเกิดที่กรุงเอเธนส์ในครอบครัวขุนนางและได้รับการศึกษาอย่างดีเช่นเดียวกับลูกหลานชนชั้นสูงชาวกรีกในสมัยนั้น
เพลโตได้รับอิทธิพลอย่างมากจากแนวคิดของโสกราตีส นักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงและเหล่าศิษย์ของพีทากอรัสผู้เป็นนักคณิตศาสตร์และนักปรัชญากรีก.
หลังจากเดินทางไปทั่วดินแดนต่างๆในแถบเมดิเตอร์เรเนียนและเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองในนครซีราคิวส์ของกรีกบนเกาะซิซิลี
เพลโตได้กลับไปยังเอเธนส์และตั้งสำนักศึกษาชื่ออะคาเดมี.
สำนักศึกษาแห่งนี้มักได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของยุโรปและเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าด้านคณิตศาสตร์และปรัชญา.
ผลงานที่สำคัญ
คือ อุตมรัฐ (The Republic)
***แนวคิดหลักทางการเมือง***
แนวความคิดของเพลโตจะมีความเชื่อมั่นในเรื่องคุณธรรม
และจริยธรรมเหมือนโสกราตีส ช่วงวัยกลางคน เพลโตเขียนมหาคัมภีร์ทางรัฐศาสตร์ชื่อ “The Republic”
หรือ “อุตมรัฐ“ (อุ-ตะ-มะ-รัด)
หรือรัฐในอุดมคติ คือลักษณะของรัฐที่ดีที่จะทำให้คนมีความสุข
ซึ่งเพลโตต้องการให้มีขึ้น
หลักของอุตมรัฐ (The Republic)
1. อำนาจและความยุติธรรม
: ผู้ปกครองควรใช้อำนาจโดยธรรม
ซึ่งต่างกับอำนาจที่เกิดจากการบังคับขู่เข็ญ โดย
ทั่วไปผู้ปกครองมักสรุปว่าตนเองมีอำนาจ และการใช้อำนาจของตนเองนั้นชอบธรรม
แต่เพลโตมีทรรศนะว่าอำนาจนั้นจะชอบธรรมต่อเมื่อมีประชาชนผู้อยู่ใต้อำนาจนั้น
ยินดีปฏิบัติตามด้วยความสมัครใจ
2.
การปกครองเป็นศิลปะ : เนื่องจากคนในสังคมมีอยู่หลากหลาย
การที่จะทำให้เห็นพ้องต้องกันทั้งหมด อาจเป็นการยาก
แต่ถ้าผู้ปกครองไปเข้าข้างหนึ่งข้างใด
ข้างที่เหลือก็จะเป็นปฏิปักษ์
ดังนั้นผู้ปกครองต้องหาวิธีทำให้คนส่วนใหญ่เห็นพ้องด้วย เพลโตจึงเห็นว่าการปกครองเป็นศิลปะที่สำคัญที่จะทำให้คนส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกัน
ซึ่งจะทำให้การปกครองนั้นเป็นไปโดยราบรื่น
3. ธาตุแท้ของบุคคลในสังคม :หรือชนชั้นของคนในสังคม
เพลโตเห็นว่ามนุษย์มีความแตกต่างกันตามธรรมชาติมาตั้งแต่กำเนิด แบ่งเป็นดังนี้
3.1 กลุ่มธาตุทองคำ
มีลักษณะใฝ่รู้ สนใจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ใช้เหตุผล
มีความสามารถในการวิเคราะห์
เข้าใจคุณธรรมและจริยธรรม เหมาะที่จะเป็น “ผู้ปกครอง“
3.2 กลุ่มธาตุเงิน
มีความรู้ความสามารถและมีชั้นเชิงในการรบ เหมาะที่จะเป็น “นักรบ” ป้องกันประเทศ
3.3 กลุ่มธาตุทองแดง มุ่งแสวงหาประโยชน์และกำไร เหมาะที่จะเป็น “ผู้ทำการผลิตให้แก่สังคม” เพื่อรัฐจะได้เก็บภาษีเพื่อนำมาพัฒนารัฐได้
4.
การศึกษาเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับสังคม เพลโตเห็นว่าการศึกษาเป็นกลไกสำคัญของรัฐ
ถือเป็นกระบวนการของการอบรมหล่อหลอมกล่อมเกลา2 ให้คนในสังคมมีค่านิยมที่พึงประสงค์ หากต้องการให้คนมีคุณธรรม จริยธรรม
กระบวนการในการศึกษาก็ควรจะมุ่งเน้นให้คนเห็นคุณค่าของสองสิ่งนี้
****ราชาปราชญ์ ควรเป็นผู้ทรงคุณธรรม*****
1. เป็นผู้เสียสละ
อุทิศตนและใช้อำนาจในการปกครองเพื่อประโยชน์ของสังคมและประชาชน
2. ไม่ควรมีทรัพย์สินและครอบครัว
เพราะจะทำให้เกิดความโลภและเมื่อไม่มีครอบครัวจะทำให้มีอิสระในการอุทิศ
ทุ่มเทในการทำงานให้กับประชาชน เพราะครอบครัวเป็นพันธะผูกคอ
แต่เพื่อแก้ไขปัญหาการสูญพันธ์ของกลุ่มธาตุทองคำ (ปราชญ์) เพลโตจึงให้คัดหญิงงาม
คุณสมบัติดี มาเป็นคู่ขยายพันธ์ของผู้ปกครอง เมื่อตั้งครรภ์ให้แยกออกไป
โดยมีหน่วยงานของรัฐดูแล และเมื่อคลอดแล้วก็ให้แยกออกไปอีก
ให้หน่วยของรัฐอุปถัมภ์เลี้ยงดูเพื่อเป็นผู้ปกครองต่อไป
แต่อย่าให้รู้ว่าใครเป็นพ่อเป็นแม่ และอย่าให้พ่อแม่รู้ว่าใครเป็นลูก
ซึ่งแปลว่าเพลโตไม่เคารพสถาบันครอบครัวเลย เพราะเห็นว่าจะนำมาซึ่งความวิตกห่วงใย
และไม่พร้อมที่จะเสียสละ อุทิศตนเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
3. เพลโตเห็นว่าผู้ปกครองที่เป็นปราชญ์
สามารถตัดสินปัญหาต่างๆ โดยใช้ดุลพินิจได้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมาย
เพราะต้องมาทำการตีความวุ่นวาย ซึ่งแม้ว่าเป็นแนวคิด ๒,๐๐๐
กว่าปีแล้ว ก็มีผู้นำมาใช้เช่นกัน เช่น พ่อขุนรามฯ
ให้คนมาสั่นกระดิ่งหน้าพระตำหนักเมื่อมีปัญหา และออกมาตัดสิน
***นิติรัฐ (Laws) รัฐแห่งกฎหมาย***
1.
เพลโตใช้เวลานำเสนอแนวความคิดแบบราชาปราชญ์อยู่นาน และพบว่าไม่มีใครอยากเป็นผู้ปกครองแบบ ปราชญ์ มีแต่คนต้องการสมบัติ อำนาจ
จนกระทั่งถึงวัยปลายคน เพลโตจึงยอมจำนนกับความจริงของโลกกับสังคมในขณะนั้น
จึงได้นำเสนอแนวคิดใหม่ เขียนหนังสือชื่อ LAWS (นิติรัฐหรือรัฐแห่งกฎหมาย)
โดย ยอมรับให้มีรัฐธรรมนูญ2เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
2. เพลโตกำหนดไว้ด้วยว่ารัฐที่ดีควรตั้งอยู่ชายฝั่งทะเล
จะได้สามารถติดต่อค้าขายกับแคว้นอื่นๆ ได้ และให้แบ่งคนในรัฐออกเป็น ๑๒ แคว้น
(ตามหลัก ๑ ปีมี ๑๒ เดือน) โดยให้ประชาชนในแต่ละรัฐเลือกตัวแทนขึ้นมาทำหน้าที่ ๓
ส่วน คือ
นิติบัญญัติ -
สภาล่าง ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย
บริหาร – สภามนตรี
ตุลาการ – พิพากษาคดี
3. การบังคับใช้กฎหมาย
ในคดีแพ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องชดใช้กัน แต่ในคดีอาญา
เพลโตเห็นว่าไม่ว่าจะทำผิดอะไร ถ้าถูกลงโทษแล้วก็ยังเป็นสมาชิกของสังคมนั้น เพราะฉะนั้นการลงโทษควรยึดแนวทางในการปรับเปลี่ยนจิตใจเพื่อให้สำนึก
และปรับตัวใหม่ เมื่อพ้นโทษแล้วจะได้กลับมาเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
เพลโตไม่เห็นด้วยกับการลงโทษให้หลาบจำ
ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะใช้แนวความคิดของเพลโตเยอะ
ผิดกับประเทศด้อยพัฒนาที่ยังใช้วิธีลงโทษให้หลาบจำ ( สืบค้นวันที่ 21
กันยายน 2557 จาก http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=548&articlegroup_id=129)